ผมได้ยินเกี่ยวกับมูลนิธิสร้างรอยยิ้ม ประเทศไทย เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2554 ผ่านทางเพื่อนที่ดีคนหนึ่ง ซึ่งเป็นคณะกรรมการของมูลนิธิ ซึ่งเขารู้ว่า ผมมีประสบการณ์ด้านการชกมวย เขาถามผมว่า ผมสนใจที่จะมาดูงานอาสมัคร เพื่อช่วยงานระดมเงินทุนเป็นครั้งแรกสำหรับงาน “Fight Night” ในประเทศไทย ของมูลนิธิสร้างรอยยิ้ม ประเทศไทยหรือไม่ ผมถูกแนะนำให้รู้จักกับ ธีส บูเว่ส์ เลขานุการคณะกรรมการมูลนิธิสร้างรอยยิ้ม ประเทศไทย และหลังจากการประชุมของเรา สำหรับผม “ไม่ต้องใช้ความคิดในการตอบ” ผมมีความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ ความรัก ความห่วงใย และการทำงานที่จริงจังของอาสาสมัครทุกคน ของมูลนิธิสร้างรอยยิ้ม ประเทศไทย เป็นสิ่งที่บอกกับผม
ด้วยทีมงานที่น่าอัศจรรย์ใจ งาน Fight Night ของมูลนิธิสร้างรอยยิ้ม ประเทศไทย ปี พ.ศ. 2554 ได้ถูกจัดขึ้น ผมได้ช่วยฝึกนักมวย จัดคู่แข่งขัน และจัดการแข่งขัน ในขณะที่อาสาสมัครทั้งหมดของทีมงาน Fight Night เป็นผู้จัดงานทั้งหมด และทำให้เกิดประสบการณ์ที่น่าอัศจรรย์ใจ ผมได้ขึ้นชกมวยในงาน Fight Night ปี พ.ศ. 2555 และเรากำลังเตรียมงาน Fight Night ปี พ.ศ. 2556 ด้วยความตั้งใจ
หลังจากงาน Fight Night ครั้งล่าสุดสิ้นสุดลง และผมมองเห็นความสำเร็จของการระดมเงินทุน ผมต้องการที่จะเห็นก่อนว่า มูลนิธิสร้างรอยยิ้ม ประเทศไทย เปลี่ยนแปลงชีวิตเด็กอย่างไร – รอยยิ้มหนึ่งรอยยิ้ม ผมไม่ต้องการอ่านข้อความบนเว็บไซต์หรือในโบรชัวร์ ผมต้องการพบเด็ก ครอบครัว และคนที่เป็นผู้รับผิดชอบที่ทำให้เกิดงานนี้ขึ้น ผมถามว่า เป็นไปได้ไหมถ้าผมจะเข้าร่วมภารกิจที่ศรีสะเกษ (เมืองเกิดของแม่ของลูกผม) ในฐานะอาสาสมัคร คำร้องของผมได้รับอนุมัติ และผมขอบอกว่า ผมรู้สึกตื่นเต้น
ผมไม่แน่ใจว่าผมควรจะคาดหวังอะไรเมื่ออยู่ที่โรงพยาบาล ผมพูดว่า ผมเต็มใจที่จะทำสิ่งใดก็ตามเพื่อให้ความช่วยเหลือ วันที่ 1 เป็นวันคัดกรอง ถ่ายรูป พูดคุยกับเด็กและครอบครัว วันคัดกรองเป็นประสบการณ์ที่น่าอัศจรรย์ใจ ได้เห็นใบหน้าพ่อและแม่ที่มีลูกที่กำลังเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนชีวิต และจากการที่ผมเป็นผู้ปกครองของเด็กอายุ 2 ขวบ ด้วยตัวผมเอง ผมจึงรู้สึกได้ถึงความดีใจและความเป็นกังวลของพ่อแม่เด็ก ซึ่งส่วนใหญ่มาจากพื้นที่ที่ห่างไกล/พื้นที่ที่ยากจน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย
“”วันที่ 2 เป็นวันผ่าตัด และเป็นวันที่ผมเฝ้ารอที่จะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของชีวิตเด็กต่อหน้าของผม ผมได้รับโอกาสให้พบและพูดคุยกับคณะแพทย์ที่น่าอัศจรรย์ใจ ซึ่งรวมทั้ง ศัลยแพทย์ วิสัญญีแพทย์ พยาบาลห้องผ่าตัด เป็นต้น ผมสามารถพูดคุยภาษาไทยดังนั้นเมื่อเราพักรับประทานอาหารกลางวัน ผมได้พูดคุยกับศัลยแพทย์ที่มี ดร. อภิชัย อังสพัทธ์ เป็นหัวหน้า และผมพูดคำนี้อยู่หลายครั้ง พวกเขาเป็นกลุ่มคนที่น่าอัศจรรย์ พวกเขาเต็มใจที่จะช่วยเหลือผู้อื่นด้วยทักษะที่พวกเขามี ด้วยความเห็นอกเห็นใจ ความรัก ความห่วงใย และให้ความใส่ใจในเรื่องการผ่าตัด
การเฝ้าดูการผ่าตัดของจริง ทำให้ผมรู้สึกอย่างแท้จริงว่า เวลาเล็กน้อยเพียง 45 นาที ของศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ที่มีทีมงานสนับสนุน สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตเด็กได้ตลอดไป การผ่าตัดบางครั้งใช้เวลานานกว่านั้นและมีความซับซ้อนมากกว่า แต่คณะแพทย์ยังคงดำเนินการต่อจนสำเร็จด้วยความเอาใจใส่ มันทำให้น้ำตาผมไหล หลังจากเห็นเด็กในวันคัดกรอง ในระหว่าง/หลังจากการผ่าตัด มันจะเป็นอะไรที่อยู่ในใจผมตลอดไป และเป็นแรงผลักดันความปรารถนาของผมในการเพิ่มการรับรู้ในเรื่องของเด็กและผู้ใหญ่ที่ควรจะยิ้มด้วยความเชื่อมั่น””
วันที่ 3 เป็นวันที่จะเดินทางกลับกรุงเทพฯ แต่ก่อนที่จะกลับ ผมแวะไปเยี่ยมหอผู้ป่วยและพูดคุยกับครอบครัว ซึ่งลูกของพวกเขาเข้ารับการผ่าตัดเรียบร้อยแล้ว และครอบครัวที่ลูกของพวกเขากำลังเตรียมตัวรอเข้ารับการผ่าตัด มันเป็นวันที่เศร้าและมีความสุข ผมอยากที่จะอยู่จนสิ้นสุดภารกิจ แต่ในความเป็นจริง ผมต้องทำงาน ผมจึงกล่าวอำลาเด็กๆ ครอบครัว เพื่อนใหม่ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล และมุ่งหน้าไปยังสนามบิน
ผมรู้สึกดีใจและโชคดีที่ได้โอกาสใเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจ ศรีสะเกษ และมันถือเป็นสถานที่พิเศษในใจผม ผมยังคงมองดูรูปถ่ายของเด็กๆ และหวังว่าวันหนึ่งผมจะสามารถพบพวกเขาอีก ผมกำลังรอที่จะเข้าร่วมภารกิจที่ อุบลราชธานี เพื่อเพิ่มความรู้ส่วนตัวของผม และเพื่อให้ผมสามารถสื่อข้อมูลของ มูลนิธิสร้างรอยยิ้ม ประเทศไทยได้ดีขึ้น และช่วยบรรลุให้เป้าหมายในการเปลี่ยนแปลงชีวิตเด็ก