บริจาค

รู้จักเรา

มูลนิธิสร้างรอยยิ้ม (Operation Smile Foundation) เป็นองค์กรการกุศลทางการแพทย์ที่ไม่แสวงหาผลกำไร ก่อตั้งที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2525 โดยนายแพทย์วิลเลียม แมกกี และภรรยา มีพันธกิจในการให้ ความช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้ที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ รวมถึงแผลไฟไหม้ และความผิดปกติอื่น ๆ บนใบหน้า โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ปัจจุบันมูลนิธิสร้างรอยยิ้มมีสำนักงานกระจายอยู่ใน 38 ประเทศทั่วโลก

เราได้ช่วยเหลือผู้ป่วยไปแล้วกว่า
0 ครั้ง
หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ไปแล้วกว่า
0 ครั้ง
มีอาสาสมัครจำนวน
0 ราย

มูลนิธิสร้างรอยยิ้ม เริ่มโครงการครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2540 โดยทีมแพทย์อาสาจากนานาชาติ ทำการผ่าตัดรักษาให้ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎและโรงพยาบาลประจำจังหวัดยโสธร ซึ่งจากการดำเนินการในครั้งนั้น ทำให้เด็กไทย 172 คน ได้รับการผ่าตัดรักษาโรคปากแหว่ง และ/หรือ เพดานโหว่ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2544 มูลนิธิสร้างรอยยิ้ม ประเทศไทยได้รับการรับรองเป็นมูลนิธิจากสำนักงาน คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารและผู้บริหารระดับสูงประจำประเทศไทย เพื่อบริหารงานมูลนิธิสร้างรอยยิ้ม ประเทศไทย

มูลนิธิสร้างรอยยิ้ม ประเทศไทย สนับสนุนการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนโดยการรับสมัครบุคลากรทางการแพทย์ ที่มีความสามารถสูง ทำให้สามารถให้บริการผ่าตัดรักษาโดยเฉลี่ยได้ถึง 10 – 12 โครงการต่อปี ในช่วงระยะ 21 ปี ที่ผ่านมา มูลนิธิฯ ได้มอบการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนชีวิตให้แก่ผู้ป่วย โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายมาแล้วกว่า 16,000 ครั้ง

วิสัยทัศน์

อนาคตที่สุขภาพและศักดิ์ศรีสามารถถูกปรับปรุงได้ผ่านการผ่าตัดที่ปลอดภัย

ภาระกิจ

ผ่านความชำนาญของเราในการรักษาภาวะปากแหว่ง เพดานโหว่ ความผิดปกติอื่นๆ บนใบหน้า รวมถึงแผลยึดติดหดรั้ง เราสามารถแก้ได้โดยมอบการผ่าตัดที่ปลอดภัยให้กับผู้คนในพื้นที่ที่มีความต้องการมากที่สุด

มาตรฐานการรักษาสากล

เพื่อรับประกันความปลอดภัยให้แก่ผู้ป่วยในโครงการของมูลนิธิสร้างรอยยิ้มทั่วโลก มูลนิธิสร้างรอยยิ้มได้กำหนด นโยบายการรักษาสากล วางมาตรฐานสำหรับอุปกรณ์ทางการแพทย์ ขั้นตอนการรักษาที่ปลอดภัย ให้การอบรมบุคลากรทางการแพทย์ และออกเอกสารรับรองบุคลากรทางการแพทย ์เพื่อให้ผู้ป่วยในโครงการของมูลนิธิสร้างรอยยิ้มทั่วโลกได้รับการรักษาที่มีความปลอดภัยด้วยมาตรฐานเดียวกัน

คณะกรรมการ

คุณอานันท์ ปันยารชุน

ประธานกรรมการกิตติมศักดิ์

คณะกรรมการบริหาร

ทพญ. ยุพเรศ นิมกาญจน์

ประธานกรรมการ

คุณอลัน แคม

กรรมการ และเหรัญญิก

พญ.นินี อจลากุล

รองประธานกรรมการ

คุณไดแอน ซิมเมอร์แมน​

กรรมการ

คุณพรศิริ โรจน์เมธา

กรรมการ และเลขานุการ

คุณแชนนอน บล็อกเกอร์

กรรมการ

คณะที่ปรึกษา

คุณเดวิด ไลแมน

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์

คุณดารณี เจริญรัชต์ภาคย์

ที่ปรึกษาคณะกรรมการ

รศ. นพ. อภิชัย อังสพัทธ์

ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการทางการแพทย์ภาคสนาม

ทีมของเรา

คณะบริหาร

พนิดา พรหมจรรยา​

ผู้อำนวยการ

จุฑารัตน์ วิบูลสมัย

ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาแหล่งทุน

นภัทร รัชตะวรรณ

ผู้อำนวยการฝ่ายโครงการ

สุรางคณา อู๋สูงเนิน

ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี

ฝ่ายโครงการ

สหทัศน์ จันทร์ปรุง

ผู้จัดการประสานงานโครงการ

ธิดาเทพ เพ็ชรจูด

เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ

ลลดา จิตตานนท์

ผู้จัดการฝ่ายข้อมูลและอาสาสมัคร

ณภัทร สิงห์ประกาศิต

เจ้าหน้าที่ธุรการฝ่ายโครงการ

ฝ่ายพัฒนาแหล่งทุน

ธัญญลักษณ์ โมฬิยสุวรรณ

ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาแหล่งทุน

ธิติยา ชีรานนท์

ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาแหล่งทุน ด้านการศึกษา และกลุ่มสมาคม

รพีพร ตีระวงศา​

ผู้จัดการฝ่ายระดมทุน​

ลัชชา ตั้งกรณ์สกุล

ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารองค์กร

สรัญญา วิรัตรมณี

เจ้าหน้าที่ฝ่ายสื่อสารองค์กร

ฝ่ายสนับสนุน

พัทธนันท์ บุญมาก

เจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชี

อภิวัฒน์ ทวีชัย

เจ้าหน้าที่ธุรการ

วงน้ำใจ

คุณปวันพัสตร์ กตัญญุตานนท์

คุณธนากร ศิริอนันต์มณี

คุณเจงกิส ทาทาร์

คุณอรณิชา ชันซื่อ

คุณปพิชญา กตัญญุตานนท์

กลุ่มไลออนส์ ร็อก

คุณอาภากร ดำรงปิยวุฒิ์

คุณจรรย์สรา กลิ่นสุคนธ์

คุณสรรสรา กลิ่นสุคนธ์

คุณสาริณ สุขานนท์สวัสดิ์

คำถามเกี่ยวกับภาวะปากแหว่งเพดานโหว่

  • ภาวะปากแหว่งเพดนโหว่ คือ ความผิดปกติบนใบหน้าแต่กำเนิด เกิดรอยแยกบริเวณริมฝีปาก เพดานปาก หรือบริเวณเนื้อเยื่อด้านในของเพดานปาก อาการปากแหว่งอาจเกิดเป็นรอยแยกที่กระดูกขากรรไกรบน และ /หรือเกิดที่แผงเหงือกด้านบนได้อีกด้วย
  • อาการเพดานโหว่ เกิดขึ้นเมื่อเพดานปากทั้งสองด้านไม่ประสานกันอย่างสนิท ส่งผลให้เกิดรอยแยกบริเวณเพดานปาก
  • อาการปากแหว่ง และเพดานโหว่ สามารถเกิดข้างเดียว (unilateral) หรือสองข้างก็ได้ (bilateral) เด็กที่ป่วยเป็นโรคนี้อาจจะได้รับความทุกข์ทรมานจากจากอาการปากแหว่ง หรือเพดานโหว่อย่างใดอย่างหนึ่ง หรืออาจมีทั้งสองอาการเลยก็ได้

เกิดขึ้นในช่วงพัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์มารดาในระหว่างเดือนที่ 2–3 ของการตั้งครรภ์ ในระหว่างที่โครงสร้างบนใบหน้าของตัวอ่อนกำลังพัฒนา หากกระดูกไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างสมบูรณ์ก็จะเกิดความผิดปกติขึ้น

สาเหตุของภาวะปากแหว่งเพดานโหว่นั้นยังไม่ทราบแน่ชัด จากการศึกษาพบว่าภาวะปากแหว่งหรือเพดานโหว่นั้น เป็นความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดที่เกิดขึ้นในระยะแรกของการพัฒนาตัวอ่อนในครรภ์มารดา นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคนี้มีต้นตอร่วมกันระหว่างพันธุกรรม และสภาพแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อครรภ์มารดา เช่น ความเจ็บป่วยของมารดา ภาวะขาดสารอาหาร หรือการใช้ยาระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ของทารกในครรภ์

ไม่สามารถป้องกันได้ ถ้าภาวะเกิดจากความผิดปกติของยีนส์ แต่หากเกิดจากปัจจัยสิ่งแวดล้อมสามารถลดความเสี่ยงได้โดยที่ในปัจจุบันพบว่า

  • มารดาควรได้รับวิตามินรวมที่มีส่วนผสมของกรดโฟลิค ก่อนการตั้งครรภ์และในระหว่างสองเดือนแรก
  • มารดาไม่ควรสูบบุหรี่ และเสพสารเสพติดขณะตั้งครรภ์
  • มารดาควรศึกษายาที่หญิงตั้งครรภ์ห้ามใช้

ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ก่อให้เกิดปัญหาหลายรูปแบบ ทั้งส่งผลกระทบต่อร่างกาย และทำให้เกิดความทรมานทางจิตใจ อันได้แก่

  • โรคทางหูและปัญหาด้านทันตกรรม อีกทั้งยังมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย
  • ปัญหาต่อพัฒนาการด้านการพูด
  • ความยากลำบากในการรับประทานอาหาร ซึ่งสามารถนำไปสู่ภาวะขาดสารอาหารได้ในที่สุด
  • ถูกล้อเลียน เยาะเย้ย ประณาม
    ถูกรังแกทำร้าย และถูกทิ้งให้อยู่อย่างโดดเดี่ยว

อุปสรรคอื่นๆ อันสืบเนื่องมาจากภาวะปากแหว่งเพดานโหว่นอกจากจะสร้างความทุกข์ทรมานให้แก่เด็กๆ โดยไม่จำเป็นแล้ว ยังส่งผลให้ผู้ป่วยหลบเลี่ยง ซ่อนเร้นตัวจากสังคมได้ในท้ายที่สุด

สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการผ่าตัดซึ่งสามารถเห็นผลได้อย่างชัดเจน กุมารแพทย์ ศัลยแพทย์ และวิสัญญีแพทย์เด็ก จะต้องทำงานร่วมกันกับ พ่อ-แม่ ผู้ปกครองอย่างใกล้ชิดเพื่อจัดช่วงเวลาที่เหมาะสมให้เด็กเข้ารับการผ่าตัดในช่วงเวลาที่เหมาะสม

  • ภาวะปากแหว่งได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือน และน้ำหนัก 5 กิโลกรัมขึ้นไป การผ่าตัดแก้ไขอวัยวะในช่องปากและจมูกควรทำตอนที่เด็กอายุน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
  • ภาวะเพดานโหว่นั้น เด็กควรมีอายุระหว่าง 12 เดือนขึ้นไป

กระบวนการในการผ่าตัดขึ้นอยู่กับความพร้อมของสุขภาพของเด็กโดยรวม และลักษณะของภาวะปากแหว่งหรือเพดานปากโหว่เป็นสำคัญ